การทำฟันเด็กสำคัญต่อลูกน้อยอย่างไร

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าฟันเด็กที่ขึ้นเป็นชุดแรกนั้นเป็นฟันน้ำนมซึ่งมีความแข็งแรงของเคลือบฟันน้อยกว่าฟันแท้ที่จะขึ้นมาตามช่วงวัย ถึงจะเป็นฟันชั่วคราวแต่ฟันน้ำนมก็เป็นฟันที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 6 ปี ซึ่งจะช่วยในการรับประทานอาหาร เป็นตัวช่วยในการออกเสียง รวมถึงเป็นพื้นที่สำหรับจองให้ฟันแท้ขึ้นด้วย ซึ่งการดูแลด้วยการแปรงฟันอย่างเดียวไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องมีการทำฟันเด็กเพื่อรองรับการดูแลและแก้ปัญหาฟันที่อาจเกิดขึ้นเองจากกรรมพันธุ์หรือพฤติกรรมเสี่ยงที่เกิดจากตัวเด็กด้วย

ทันตกรรมสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง

  1. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก หมอฟันเด็กจะ X-ray เพื่อตรวจเช็คสุขภาพช่องปากภายในที่ไม่สามารถตรวจได้ด้วยตา ซึ่งจะเห็นความเป็นไปได้ของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในช่องปากของเด็กในอนาคต
  • หากเด็กมีอายุ 6 เดือน – 2 ปี หมอฟันเด็กจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการทำความสะอาดช่องปากตั้งแต่การใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดฟัน เหงือกและลิ้น การเลือกแปรงสีฟันและไหมขัดฟัน การเลิกขวดนมมื้อดึก รวมถึงการเลือกอาหารว่างที่เหมาะสมกับวัย
  • หากเด็กมีอายุ 3 – 6 ปี หมอฟันเด็กจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำความสะอาดช่องปากโดยมีผู้ปกครองเป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด และวิธีการป้องกันฟันผุในฟันน้ำนม
  • หากเด็กมีอายุ 7 – 12 ปี หมอฟันเด็กจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำความสะอาดช่องปากด้วยตัวเอง วิธีป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่อฟันหน้าแท้ รวมถึงวิธีป้องกันฟันผุในฟันกรามแท้
  1. รักษาฟันด้วยฟลูออไรด์ หมอฟันเด็กจะเคลือบฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุและเสริมสร้างความแข็งแรงของฟันตามประเภทของฟลูออไรด์ ทั้งฟลูออไรด์เจลและฟลูออไรด์วานิช โดยหมอฟันเด็กจะแปรงหรือขัดฟันของเด็กให้สะอาด จากนั้นเลือกขนาดถาดฟลูออไรด์ให้เหมาะกับชุดฟันของเด็ก จากนั้นให้เด็กกัดถาดเอาไว้เพื่อเคลือบฟลูออไรด์

3 เคลือบหลุมร่องฟัน หมอฟันเด็กจะทาน้ำยาเคลือบหลุมร่องฟันของผิวฟันด้านบดเคี้ยวเพื่อช่วยให้เราทำความสะอาดฟันได้ทั่วถึงและลดอาการฟันผุได้ดีขึ้นแล้ว อีกทั้งทำฟันเด็กช่วยลดปัญหาฟันสำหรับเด็กที่มีภาวะฟันขบสึกหรือมีร่องฟันลึกด้วย

  1. อุดฟันน้ำนม เนื่องจากเด็กเป็นช่วงวัยที่ดูแลสุขภาพช่องปากไม่ทั่วถึง หมอฟันเด็กจึงต้องอุดฟันน้ำนมโดยซ่อมแซมเนื้อฟันที่มีรอยผุ เพื่อให้ฟันน้ำนมที่เสื่อมง่ายกลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยมีวัสดุที่ใช้อุด 3 ประเภท ได้แก่ อุดฟันน้ำนมด้วยวัสดุคอมโพสิตเรซิน วัสดุอมัลกัม และวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์
  2. ครอบฟัน จะครอบฟันเพื่อรักษาฟันที่แตกหักหรือบิ่นโดยใช้วัสดุเลียนแบบซี่ฟันธรรมชาติ สวมครอบฟันที่เสียหายลงไปทั้งซี่ วัสดุที่ใช้อาจทำจากโลหะล้วนทั้งซี่ด้วยวัสดุเซรามิคล้วน หรือผสมระหว่างโลหะและเซรามิค เพื่อให้ฟันแข็งแรงและสวยงาม
  3. ถอนฟัน หมอจะถอนฟันน้ำนมของเด็กเองเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่นกีฬา ทานอาหาร นอน ทั้งนี้อาจถอนฟันเพียงอย่างเดียวหรืออาจทำฟันเด็กรักษารากฟันร่วมกับครอบฟันน้ำนม หลังจากนั้นจึงใส่เครื่องมือกันฟันเพื่อป้องกันปัญหาฟันตามมา
  4. รักษารากฟัน หมอฟันเด็กจะรักษารากฟันโดยการตัดโพรงประสาทฟันหรือเนื้อเยื่อเล็กๆ ที่อักเสบอยู่ใจกลางฟันเพื่อทำความสะอาด จัดรูป และอุดส่วนที่เหลือ เพื่อรักษาบริเวณโพรงประสาทฟันให้กลับเข้าสู่ภาวะปลอดเชื้อเหมือนฟันปกติ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างขูดหินปูนซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำทุก 6 เดือนอยู่แล้ว
  5. จัดฟัน หมอฟันเด็กจะจัดฟันให้เด็กในกรณีที่เด็กมีปัญหาฟัน ดังต่อไปนี้
  • ฟันหน้ายื่นผิดปกติ
  • คางยื่น
  • ฟันเก
  • ฟันซ้อน
  • ฟันห่าง
  • ฟันสบกันผิดปกติ

โดยแบ่งวิธีการจัดฟันเป็น 4 แบบ ได้แก่ การจัดฟันแบบโลหะ การจัดฟันแบบเซรามิก การจัดฟันแบบดามอนและการจัดฟันใส ทั้งนี้หมอฟันเด็กจะติดเครื่องมือจัดฟันและนัดปรับเครื่องมือเดือนละ 1-2 ครั้ง แล้วแต่ประเภท เพื่อให้ฟันเคลื่อนที่ไปตามแผนการรักษา

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการทำฟันเด็กและดูแลสุขภาพช่องปากโดยเฉพาะฟันน้ำนมซึ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกน้อยมีรอยยิ้มที่สดใส มีฟันที่แข็งแรง และไม่มีปัญหาฟันอื่นๆ กวนใจในอนาคต